วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 3 วันจันทร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกครั้งที่ 3 
วันจันทร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • STEM / STEAM Education
  • ตกแต่งจานกระดาษ
  • สร้างกรงเลี้ยงผีเสื้อ
  • ถ่ายภาพ
ทฤษฏี

       STEM : เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน



STEM Education (สะเต็มศึกษา)

  1. Science:การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ 
  2. Technology:วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม 
  3. Engineering:ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา 
  4. Mathematics:เรื่องของการคำนวณ

STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
          “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น 

STEAM Education
การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art” 
เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

STEAM Education (สะตีมศึกษา)


  1. Science
  2. Technology
  3. Engineering
  4. Art
  5. Mathematics


"ตกแต่งจานกระดาษ"

วิธีการทำ

1.ครูแนะนำอุปกรณ์
- วันนี้ึครูมีอุปกรณ์มาให้เด็กๆ ด้วย ชิ้นนี้คืออะไร?? (ชูขึ้นถามเด็ก)
- เด็กๆ เห็นอะไรบ้างคะ (ครูถามเด็ก)
- เด็กๆ คิดว่าวันนี้เราจะมาประดิษฐ์อะไรกันลูก (ครูถามเด็ก)
- สรุปอุปกรณ์ (วางขวามือครู)
- ตัดกระดาษไว้เลย (กรรไกร)

2.สาธิตวิธีการทำ
- ครูตัดจานกระดาษให้เด็ก ๆ โดย ทั้งสองข้างต้องเท่ากัน


- ให้เด็ก ๆ ตกแต่งจานกระดาษของตนเองด้วยสีเทียน เป็นรูปผีเสื้อ

- ให้เด็กๆ ประกอบจานกระดาษ กับไม้ไอติม ให้เป็นรูปผีเสื้อ

อุปกรณ์



1.จานกระดาษ



2.ไม้ไอติม


3.สีเทียน


4.กรรไกร



สร้างกรงเลี้ยงผีเสื้อ











อุปกรณ์

1.กิ่งไม้ 20-40 เซนติเมตร



2.ดินน้ำมัน (ทำใบไม้)




"ถ่ายภาพ"
วัฏจักรผีเสื้อ
  1. ใช้ดินน้ำมันปั้นวัฏจักรผีเสื้อ
  2. ใช้โปรแกรม Stop Motion Video ถ่ายภาพวัฏจักร
  3. ส่ง VDO หน้า Facebook อาจารย์




การนำไปประยุกต์ใช้
  • STEM/STEAM สามารถนำไปบูรณาการกับ 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยได้อย่างดี
  • ตกแต่งจานกระดาษ สามารถนำวิธีการนี้ไปใช้กับหน่วยอื่นได้
  • สร้างกรงเลี้ยงผีเสื้อ สามารถนำไปไว้ในมุมเสริมประสบการณ์ได้
  • ถ่ายภาพ สามารถนำไปใช้ทำนิทานได้
ประเมินผล
  • ตนเอง : ชอบกิจกรรมถ่ายภาพค่ะ แต่มีปัญหาทางเทคนิค ทำไฟล์งานหาย ส่งอาจารย์ไม่ได้ ต้องทำส่งใหม่ แต่สนุกดีค่ะ กิจกรรมนี้ ใช้เวลาไม่นาน น่าสนใจดี
  • เพื่อน : เพื่อนทำผลงานออกมาสวยงามทุกกลุ่ม เข้าเรียนพร้อมกัน 2 เซค อาจเสียงดังเล็กน้อย แต่ก็ตั้งใจดีค่ะ
  • อาจารย์ : มีกิจกรรมใหม่ ๆ มาให้ลองทำ สนุกมากค่ะ 

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 2 วันจันทร์ ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • เรียนทฤษฏีการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  • กิจกรรม Marshmallow Tower
  • กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ
  • กิจกรรมออกแบบชุดจากหนังสือพิมพ์


คลิปวีดีโอ : วิดีโอสาธิตความปลอดภัยบนรถเมล์

การเล่น
  • กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ 
  • ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
  • ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม 
      แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น

        • Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้

          1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
          • สำรวจ จับต้องวัตถุ
          • ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
            2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
            • อายุ 1 ½ - 2 ปี
            • การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
            • เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
                3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
                • 2 ขวบขึ้นไป
                • สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
                • เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ
                • ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
                      ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ
                        ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
                          1. การเล่นกลางแจ้ง
                          2. การเล่นในร่ม

                                การเล่นสรรค์สร้าง
                                  • การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
                                  • ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
                                  • เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
                                      งค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Formann and Hill, 1980)
                                        1. สภาวะการเรียนรู้
                                        • เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
                                        • การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน

                                        • การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
                                        • การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

                                        • การเรียนรู้เหตุและผล
                                        2. พัฒนาการของการรู้คิด
                                        • ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
                                        3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
                                          กระบวนการเรียนรู้
                                            • กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
                                            • เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
                                            • การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
                                            • การจำแนกอย่างมีเหตุผล
                                                  หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
                                                  • ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
                                                  • ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
                                                  • มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
                                                  • มีการสรุปท้ายกิจกรรม


                                                  กิจกรรม Marshmallow Tower
                                                  • จัดในมุมเสริมประสบการณ์
                                                  • จัดในมุมวิทยาศาสตร์
                                                  • จัดในมุมศิลปะ



                                                  อุปกรณ์
                                                  1. ดินน้ำมัน
                                                  2. ไม้จิ้มฟัน
                                                  3. กระดาษ
                                                  วิธีการ
                                                  1. เตรียมอุปกรณ์ให้ครบ
                                                  2. สอนวิธีเล่น "นำดินน้ำมันกับ ไม้ มาต่อเป็นตึกสูง"      
                                                  3. 3.ครั้งที่ 1 เงื่อนไข "ห้ามใช้เสียง ได้ความสูง 7.5 ซม.


                                                  4.ครั้งที่ 2 เงื่อนไูข "เลือกหัวหน้า ใช้เสียงได้ 1 คน "  ได้ความสูง 21 ซม.
                                                  5.ครั้งที่ 3 เงื่อนไข "คุยกันได้ทั้งกลุ่ม " ได้ความสูง 26 ซม.



                                                  "กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ"



                                                   อุปกรณ์

                                                  1. กระดาษ 1 ใบ
                                                  2. ยาง 4 เส้น
                                                  3. ตะเกรียบ 4 อัน

                                                   วิธีการ

                                                  1. หาวิธีพับเรือให้ลอยอยู่บนผิวน้ำ


                                                          2.นำซอสใส่ลงในเรือ นับ 1-10 โดยเรือไม่จบ ใครได้ ซอสมากที่สุด เป็นฝ่ายชนะ





                                                  "กิจกรรมออกแบบชุดจากหนังสือพิมพ์"
                                                  • ออกแบบชุดจากหนังสือพิมพ์
                                                  • กติกา
                                                  1. เครื่องประดับศีรษะ
                                                  2. เสื้อ ไหล่
                                                  3. เครื่องประดับแขน นิ้ว
                                                  4. กางเกง กะโปรง ผ้านุ่ง
                                                  5. แผงหลัง
                                                  6. รองเท้า
                                                  7. อื่นๆ
                                                  • เกณฑ์การตัดสิน : มโหฬาร ยิ่งใหญ่ ใส่ใจองค์ประกอบ ครอบคุมความหมาย




                                                  การนำไปประยุกต์ใช้
                                                  • จากการเรียนทฤษฏีทำให้ทราบถึงธรรมชาติและความต้องการของเด็ก และนำมาคิดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้อง
                                                  • จากกิจกรรมหอคอยมาสเมโล่ สามารถนำไปประยุกต์กับอุปกรณ์อื่นๆ รอบ ๆตัวเด็กได้เช่น ดินน้ำมันแทนมาชเมโล่
                                                  • จากกิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ สามารถนำไปจัดมุมเสริมประสบกาณ์ได้ และอาจจะใช้เป็นวัสดุอุปกรณ์อื่นที่มีอยู่แทนกันได้
                                                  • จากกิจกรรมออกแบบชุดจากกระดาษหนังสือพิมพ์สามารถประยุกต์โดยการนำวัสดุเหลือใช้อื่นๆ มาใช้ได้เช่นกัน

                                                  ประเมินผล
                                                  • ตนเอง : กิจกรรมมีความหลากหลาย สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ ชอบมากค่ะ
                                                  • เพื่อน : กิจกรรมวันนี้สนุกสนาน เพื่อนได้มีส่วนร่วมทุกคน เพื่อนร่วมกิจกรรมกันอย่างตั้งใจ
                                                  • อาจารย์ : มีกิจกรรมใหม่ ๆมาให้เล่น กิจกรรสนุก หลากหลาย น่าสนใจ ชอบมากค่ะ