วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 13 วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2559

บันทึกครั้งที่ 13
 วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • ส่งใบปั้ม
  • มอบรางวัลเด็กดี
  • แจกสีเมจิก




การประยุกต์ใช้
   สามารถนำวิธีการมอบรางวัล ต่างๆ ไปปรับใช้กับเด็ก ๆ ได้ในอนาคต

ประเมิน
ตนเอง :ได้รับรางวัล เด็กดี 1 รางวัล 
เพื่อน : เพื่อน ๆ ได้รับรางวัลกันมากมาย
อาจารย์ : อาจารย์ นำรางวัลมามอบให้กับคนที่มีตัวปั้มมากที่สุด เป็นกำลังใจที่ดีมากค่ะ

บันทึกครั้งที่ 12 วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมแต่งนิทานพร้อมกับแสดงบทบาทสมมติ
การแสดงนิทานมี 3 รูปแบบ ดังนี้
1. นิทานที่ไม่มีคำบรรยาย ผู้แสดงเป็นคนพูดเอง
2. นิทานที่บรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วย
3. นิทานที่บรรยายอย่างเดียว
นิทานที่มีการบรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วยเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ขั้นนำ
  • เล่นเกม ด้วยวิธีการรำวง และกำหนดเงื่อนไข จับกลุ่มตามคำสั่ง
ขั้นสอน

นิทานเรื่อง ก้อนเมฆเพื่อนรัก
ตัวละคร
1. ก้อนเมฆ
2. ดวงอาทิตย์
3. ลม

เนื้อเรื่อง
ยามเช้าตรู่พระอาทิตย์กำลังหลับใหลอยู่ในภวังค์อย่างมีความสุข 
ทันใดนั้นก้อนเมฆแสนซนก็ตื่นขึ้น ก้อนเมฆพูดว่า “พระอาทิตย์ตื่นได้”แล้ว
จากนั้นพระอาทิตย์ค่อยๆเปล่งแสงสีทองประกายขึ้นในยามเช้า (ร้องเพลงพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง) พระอาทิตย์กับก้อนเมฆออกไปเที่ยวเล่นกันบนท้องฟ้าอย่างสนุกสนาน 
ทันใดนั้นเองเจ้าลมบ้าพลังจอมเกเรก็ไปก่อกวนพระอาทิตย์และจับตัวพระอาทิตย์ไป
ลมบ้าพลังจอมเกเกเรพูด“ในที่สุดพระอาทิตย์ก็เป็นของข้า” 
จากนั้นก้อนเมฆจึงรวมตัวกันไปช่วยพระอาทิตย์ “เราไปช่วยพระอาทิตย์กัน” 
ก้อนเมฆค่อยๆ แปลงร่างรวมตัวกันเป็นฝนขับไล่ลมออกไป (ซู่ๆไปซะเจ้าลมจอมเกเร!!)
 สุดท้ายก้อนเมฆก็ช่วยพระอาทิตย์ออกมาจากเจ้าลมบ้าพลังได้ 
พระอาทิตย์จึงพูดขอบคุณก้อนเมฆ “ขอบใจมากนะก้อนเมฆเพื่อนรัก”

ขั้นสรุป
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ความสามัคคี และการช่วยเหลือกัน จะนำไปสู่ความสำเร็จ

การประยุกต์ใช้
สามารถนำขั้นตอนก่อนการเข้าสู่บทเรียนไปใช้บูรณาการให้เข้ากับเนื้อหาการเรียนการสอนได้ เพื่อสร้างความสนุกสนาน และกระตุ้นให้เด็ก ๆ อยากทำกิจกรรม และนิทานสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็ก ๆ ได้จริง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และได้ลงมือปฏิบัติจริง 

ประเมิน
ตนเอง : เข้าร่วมกิจกรรมอย่างตั้งใจ กิจกรรมมีความสนุกสนาน
เพื่อน : เพื่อน ๆ เข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
อาจารย์ : บรรยาการวันสุดท้ายของการเรียนการสอน มีความสบาย ๆ ได้รับความรู้ เรียนอย่างมีความสุข


วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 11 วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
องค์ประกอบ 4 ประการ 
1. ร่างกาย
2. พื้นที่
3. ระดับ
4. ทิศทาง

รูปแบบแบ่งออกเป็น 2 แบบ
1. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น การวิ่ง การกระโดด
2. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การตบมือ การผงกศีรษะ

วัตถุประสงค์การเคลื่อนไหว
1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
2. เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
5. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
6. เคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ


กิจกรรมกลุ่ม
กิจกรรม การเคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ
เคลื่อนไหวพื้นฐาน
คุณครูกำหนดสัญญาณ
ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 1 ก้าว
ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 2 ก้าว
ถ้าคุณครูเคาะ 3 ครั้ง ให้เด็กๆเคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่
เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา
- ถ้าคุณครูพูดว่า “ท้องฟ้า” ให้เด็กๆทำท่านกบินไปมุมท้องฟ้า
- ถ้าคุณครูพูดว่า “ป่าไม้” ให้เด็กๆทำท่าช้างเดินไปที่มุมป่าไม้
- ถ้าคุณครูพูดว่า “ทะเล” ให้เด็กๆทำท่าปลาว่ายไปที่มุมทะเล
- ถ้าคุณครูพูดว่า “รู” ให้เด็กๆทำท่างูเลื่อยไปที่มุมรู
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การนวดตั้งแต่ศีรษะ ไหล่ แขน ขาและเท้า



งานสิ่งประดิษฐ์
ห้องครัว

     



อุปกรณ์
  1. ลังกระดาษ
  2. สติกเกอร์
  3. กรรไกร
  4. คัตเตอร์
  5. ปืนกาว
  6. ดินสอ
  7. ยางลบ
  8. ไม้บรรทัด
วิธีทำ
  1. หาลังกระดาษ A4
  2. กระดาษลังเหลือใช้
  3. ออกแบบส่วนประกอบที่ต้องการ
  4. วาดและวัดขนาดเฟอร์นิเจอร์ลงบนกระดาษลัง
  5. ตัดกระดาษลังตามแบบที่วาดไว้
  6. ประกอบส่วนประกอบต่าง ๆด้วยปืนกาว
  7. รอกาวแห้ง ติดสติกเกอร์ตกแต่งให้สวยงาม
แก้จากขวดดักหนู

การประยุกต์ใช้
   สามารถนำขั้นตอนการสอนเคลื่อนไหวไปปรับใช้สำหรับ 6 กิจกรรมหลักได้ และยังสามารถนำไปบูรณาการหน่วยต่าง ๆและนำไปเขียนแผนการสอนได้อย่างดี สำหรับสิ่งประดิษฐ์ห้องครัว สามารถนำไปเล่นในมุมบทบาทสมมุติหรือต่อยอดเข้ากับหน่วยต่างๆ ได้

ประเมิน
ตนเอง:ทำสิ่งประดิษฐ์มาส่งตรงเวลา ได้รับคำชมจากอาจารย์
เพื่อน:เพื่อน ๆ เข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างตั้งใจ
อาจารย์:หากิจกรรมที่หลากหลายมาใช้ทำการเรียนการสอน คอยแนะนำสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้ไปปรับแก้

บันทึกครั้งที่ 10 วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ

ประดิษฐ์ที่ดักหนูจากขวด

วัสดุอุปกรณ์

1.ขวดน้้ำ

2.ยางวง

 3.กรรไกร

 4.คัตเตอร์

 5.ไขควง

 6.คลิป

 7.ดินสอ

วิธีทำ

1.ตัดก้นขวดออก และเหลือที่ไว้ 2 นิ้ว

   2.เจาะรู 2 ข้าง



 3.เสียบดินสอใส่รูที่เจาะไว้

 4.ตัดกระดาษลังให้ขนาดพอดีกับขวด

 5.เจาะกระดาษลัง ด้านบนและด้านล่าง

 6.ดัดคลิปหนีบกระดาษ



นำเสนอของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ 3 กลุ่ม
  1. กล่อง
  2. กระดาษลัง
  3. ขวดน้ำพลาสติก

กิจกรรม  ให้นักศึกษาตั้งคำถามเพื่อเชื่อมโยงกับสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ของตนเอง (ขั้นนำ)
คำถามที่ใช้ถามเด็กๆ

การประยุกต์
   สามารถนำไอเดียการประดิษฐ์ของเล่นของเพื่อน ๆ ไปปรับใช้กับหน่วยการเรียนการสอน และเขียนแผนการสอนได้ในอนาคต

ประเมิน
ตนเอง : สิ่งประดิษฐ์ที่ทำมา ติดปัญหา เล่นไม่ได้ จึงได้แก้งาน โดยทำห้องครัวมาส่ง
เพื่อน : เพื่อน ๆ ประดิษฐ์สิ่งของที่น่าสนใจมาส่งมากมาย
อาจารย์ : อาจารย์แนะนำ และติมของเล่น แต่ละประเภทเพื่อไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 9 วันจันทร์ ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 9 
วันจันทร์ ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559 
ความรู้ที่ได้รับ
  • บูรณาการ
  • ประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
       บูรณาการ คือ การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน มีลักษณะเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ ตามเป้าหมายคือ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเพราะเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

ด้านสติปัญญา
1.การคิด
      1.1 สร้างสรรค์
      1.2 เหตุผล
             1.2.1 คณิต
             1.2.2 วิทย์
2.ภาษา
  • ได้ประสบการณ์
  • เกิดการเรียนรู้
  • สู่ประสบการณ์
ประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้

1.แบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน
2.เลือกวัสดุเพื่อทำของเล่น กลุ่มละ 1 ชนิด 
3.แต่ละกลุ่มประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุชนิดเดียวกันแต่ห้ามซ้ำกัน




"ขวด"
การประยุกต์ใช้
     สามารถนำหลักการบูรณาการมาประยุกต์กับการเรียนการสอนได้จริงในหน่วยต่าง ๆได้ตามหลักสูตร และความสนใจของเด็กได้เป็นอย่างดี และภายใน 1 วิชายังสามารถบูรณาการวิชาต่างๆ ได้หลากหลาย เด็กมีการเชื่อมโยงความรู้ สร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้านให้มีคุณภาพมากยิ่งชั้น

ประเมิน
ตนเอง:ได้เรียนรู้ถึงความหมายของการบูรณาการ ได้เลือกของเล่นที่จะประดิษฐ์ขึ้นเอง
เพื่อน: เพื่อนช่วยกันคิดวัสดุอุปกรณ์วางแผนการทำงาน
ครู:อาจารย์ช่วยแนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่จะทำของเล่น และจัดเตรียมอุปกรณ์ให้อย่างดี

บันทึกครั้งที่ 8 วัน จันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 
วัน จันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2559
"หยุดชดเชยวันปิยะมหาราช"

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 7 วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 7 
วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • การประดิษฐ์สื่อจากรูปทรงเรขาคณิต
  • การออกแบบ
การออกแบบ
  • เชื่อมโยง (ส่วนใหญ่เชื่อมโยงเพราะอยู่ในชีวิตประจำวัน)
  • บอกเหตุผลได้
  • แตกต่างจากภาพเดิม
วิธีการทำ
1.แจกกระดาษ

2.จัดกลุ่ม 10 คน เลือกรูปทรงเรขาคณิตคนละ 1 รูป ห้ามซ้ำกัน




    3.ออกแบบสื่อจากเรขาคณิตที่เลือก












    4.ออกแบบสื่อ (สื่อคำศัพท์ภาษาอังกฤษ)
    สี่เหลี่ยม

    วงกลม

    หกเหลี่ยม 

    สี่เหลี่ยมผืนผ้า

    ห้าเหลี่ยม

    ทรงกรวย

    วงรี

    ทรงกระบอก

    สี่เหลี่ยมคางหมู

    สามเหลี่ยม



    5.ตัดกระดาษสี ทำเป็นรูปเรขาคณิตต่างๆ (เพิ่มตัวหลอก 2 ตัว)  แปะลงกระดาษลัง




    วัสดุ/อุปกรณ์
    1. กระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น
    2. กระดาษแข็ง
    3. กระดาษสี
    4. กระดาษลัง
    5. กรรไกร
    6. ดินสอ
    7. ยางลม
    8. สี
    9. ปากกาเมจิก
    การประยุกต์ใช้
         สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องของรูปทรง และภาษาในเรื่องของคำศัพท์ต่างๆ และยังรวมถึงกิจกรรมศิลปะที่ให้เด็กประดิษฐ์และออกแแบบสื่อขึ้นมาด้วยตนเองและสามารถนำไปต่อยอดเป็นของเล่นสำหรับสร้างเสริมพัฒนาการได้ และยังเป็นการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ จากประสบการณ์เดิม ผ่านการเชื่อมโยงความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ หรือการคิดริเริ่มเด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง สร้างคุณค่า ความภาคภูมิใจให้ตัวเด็ก 

    ประเมิน
    ตนเอง:ได้ลงมือทำตามลำดับขั้นตอนการสอน ทำให้เข้าใจและนำไปปฏิบัติได้จริง
    เพื่อน: เป็นกิจกรรมกลุ่ม เพื่อนช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี
    ครู:อาจารย์อธิบายความหมายของการทำกิจกรรมที่ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ผ่านการปฏิบัติจริง