วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 11 วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
องค์ประกอบ 4 ประการ 
1. ร่างกาย
2. พื้นที่
3. ระดับ
4. ทิศทาง

รูปแบบแบ่งออกเป็น 2 แบบ
1. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น การวิ่ง การกระโดด
2. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การตบมือ การผงกศีรษะ

วัตถุประสงค์การเคลื่อนไหว
1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
2. เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
5. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
6. เคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ


กิจกรรมกลุ่ม
กิจกรรม การเคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ
เคลื่อนไหวพื้นฐาน
คุณครูกำหนดสัญญาณ
ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 1 ก้าว
ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 2 ก้าว
ถ้าคุณครูเคาะ 3 ครั้ง ให้เด็กๆเคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่
เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา
- ถ้าคุณครูพูดว่า “ท้องฟ้า” ให้เด็กๆทำท่านกบินไปมุมท้องฟ้า
- ถ้าคุณครูพูดว่า “ป่าไม้” ให้เด็กๆทำท่าช้างเดินไปที่มุมป่าไม้
- ถ้าคุณครูพูดว่า “ทะเล” ให้เด็กๆทำท่าปลาว่ายไปที่มุมทะเล
- ถ้าคุณครูพูดว่า “รู” ให้เด็กๆทำท่างูเลื่อยไปที่มุมรู
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การนวดตั้งแต่ศีรษะ ไหล่ แขน ขาและเท้า



งานสิ่งประดิษฐ์
ห้องครัว

     



อุปกรณ์
  1. ลังกระดาษ
  2. สติกเกอร์
  3. กรรไกร
  4. คัตเตอร์
  5. ปืนกาว
  6. ดินสอ
  7. ยางลบ
  8. ไม้บรรทัด
วิธีทำ
  1. หาลังกระดาษ A4
  2. กระดาษลังเหลือใช้
  3. ออกแบบส่วนประกอบที่ต้องการ
  4. วาดและวัดขนาดเฟอร์นิเจอร์ลงบนกระดาษลัง
  5. ตัดกระดาษลังตามแบบที่วาดไว้
  6. ประกอบส่วนประกอบต่าง ๆด้วยปืนกาว
  7. รอกาวแห้ง ติดสติกเกอร์ตกแต่งให้สวยงาม
แก้จากขวดดักหนู

การประยุกต์ใช้
   สามารถนำขั้นตอนการสอนเคลื่อนไหวไปปรับใช้สำหรับ 6 กิจกรรมหลักได้ และยังสามารถนำไปบูรณาการหน่วยต่าง ๆและนำไปเขียนแผนการสอนได้อย่างดี สำหรับสิ่งประดิษฐ์ห้องครัว สามารถนำไปเล่นในมุมบทบาทสมมุติหรือต่อยอดเข้ากับหน่วยต่างๆ ได้

ประเมิน
ตนเอง:ทำสิ่งประดิษฐ์มาส่งตรงเวลา ได้รับคำชมจากอาจารย์
เพื่อน:เพื่อน ๆ เข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างตั้งใจ
อาจารย์:หากิจกรรมที่หลากหลายมาใช้ทำการเรียนการสอน คอยแนะนำสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้ไปปรับแก้

บันทึกครั้งที่ 10 วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ

ประดิษฐ์ที่ดักหนูจากขวด

วัสดุอุปกรณ์

1.ขวดน้้ำ

2.ยางวง

 3.กรรไกร

 4.คัตเตอร์

 5.ไขควง

 6.คลิป

 7.ดินสอ

วิธีทำ

1.ตัดก้นขวดออก และเหลือที่ไว้ 2 นิ้ว

   2.เจาะรู 2 ข้าง



 3.เสียบดินสอใส่รูที่เจาะไว้

 4.ตัดกระดาษลังให้ขนาดพอดีกับขวด

 5.เจาะกระดาษลัง ด้านบนและด้านล่าง

 6.ดัดคลิปหนีบกระดาษ



นำเสนอของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ 3 กลุ่ม
  1. กล่อง
  2. กระดาษลัง
  3. ขวดน้ำพลาสติก

กิจกรรม  ให้นักศึกษาตั้งคำถามเพื่อเชื่อมโยงกับสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ของตนเอง (ขั้นนำ)
คำถามที่ใช้ถามเด็กๆ

การประยุกต์
   สามารถนำไอเดียการประดิษฐ์ของเล่นของเพื่อน ๆ ไปปรับใช้กับหน่วยการเรียนการสอน และเขียนแผนการสอนได้ในอนาคต

ประเมิน
ตนเอง : สิ่งประดิษฐ์ที่ทำมา ติดปัญหา เล่นไม่ได้ จึงได้แก้งาน โดยทำห้องครัวมาส่ง
เพื่อน : เพื่อน ๆ ประดิษฐ์สิ่งของที่น่าสนใจมาส่งมากมาย
อาจารย์ : อาจารย์แนะนำ และติมของเล่น แต่ละประเภทเพื่อไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม